วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


    สำหรับวันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่่เราจะเรียนวิชานี้ พูดแล้วเศร้า T_T  
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของกลุ่มตัวเอง และที่เห็นในวันนี้คือสื่อของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มสวยงามมาก มีเทคนิคการทำและวิธีเล่นที่แตกต่างกัน  บรรยากาศในห้องเรียนก็สนุกสนาน เพราะทุกคนต่างตื่นเต้นที่จะออกนำเสนอผลงาน และคอยดูว่าสื่อของเพื่อนๆเป็นอย่างไรบ้าง  สื่อของดิฉันชื่อว่า "บันไดงูมหาสนุก" กลุ่มของดิฉันตั้งใจทำอย่างมากพื่อประโยชน์จากการเล่นในทางคณิตศาสตร์


ชื่อสื่อ บันไดงูมหาสนุก



วิธีการเล่น

1.เกมนี้ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวเดินคนละ 1 ตัว

2.ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอยลูกเต๋า คนละ 1 ครั้ง แล้วให้ผู้เล่นเดินตามจำนวนแต้มของลูกเต๋าที่ทอยได้ จากนั้นให้ผู้เล่นคนถัดไปทอยลูกเต๋าและเล่นไปเรื่อยๆ

3.ระหว่างที่เดินบนช่องทางในบางช่อง ก็จะมีคำสั่งต่างๆให้ผู้เล่นปฏิบัติตาม ได้แก่ วันนี้ดวงดีได้เดินไปข้างหน้าอีก 1 ช่อง หยุดเล่น 1 ครั้ง และ มีการนำคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในเกมนี้ คือ สมมติว่า ผู้เล่นทอยลูกเต๋าได้ ได้แต้มเลข 3 ก็จะต้อง บอกผลลัพท์ ของจำนวน 3+3 เท่ากับเท่าไหร่ และเมื่อผู้เล่นตอบได้ก็จะได้เดินไปที่ช่องจำนวนของผลลัพท์นั้น หรือ บอกผลลัพท์ของจำนวน 5- 2 ก็จะเท่ากับ3 ผู้เล่นก็จะต้องถอยกลับมา 3 ช่องนั่นเอง

4.ถ้าตัวเดินของคนใดเดินทางถึงเส้นชัยก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะ





นำสื่อไปให้เด็กๆลองเล่นดู
น้องกระปุก กับ น้องสงกรานต์








เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร 

สำหรับสื่อชิ้นนี้ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเล่น
 และในแต่ละครั้งที่เด็กๆโยนลูกเต๋าเขาก็จะตื่นเต้นและคอยลุ้นว่าจะได้จำนวนแต้มเท่าใด 


เด็กได้ทักษะอะไรบ้าง
- สำหรับสื่อชิ้นนี้ ที่เด็กจะได้ทักษะที่เห็นชัดที่สุดคือ การนับจำนวนตัวเลข ในการเดินแต่ละครั้ง

- ได้ทักษะทางด้าน การบวก ลบ เลข และบอกผลลัพท์ของจำนวนได้

- เด็กได้ทักษะทางด้านการสังเกต ว่าต้องเดินไปตามทิศทางใด

- เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ในด้านความน่าจะเป็น


ปัญหาที่พบเห็น


- ในบางครั้งเด็กสับสนในการเดินของแต่ละช่อง

- เมื่อเด็กเดินไปเจอช่องที่มี จำนวน บวกลบมากเกินไป เด็กก็ไม่สามารถตอบผลลัพท์ได้

สรุป (เหมาะสมกับเด็กหรือไม่)

  สื่อชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็กที่มีช่วงอายุ 5-6 ปี ขึ้นไป เพราะในสื่อชิ้นนี้มีจำนวนตัวเลขที่มาบวกลบนั้น ทำให้เด็กอายุ ประมาณต่ำกว่า 5 ปี ไม่สามารถบอกคำตอบของผลลัพท์นั้นได้



ผลงาน





สื่อของพื่อนๆ



รูปทรงเรขาคณิต
จำนวนนับพาเพลิน




จับคู่หรรษา
จับคู่ภาพเหมือน ผลไม้



ติ๊กต๊อก
มาช่วยกันนับเถอะค่ะ




















ร้านค้าพาเพลิน

รูปทรงเรขาคณิตน่ารู้
เรียงลำดับพาเพลิน


นาฬิกาหรรษา


เอ๊ะ!! มีกี่รูปนะ


คณิคคิดสนุก


กล่องมหัศจรรย์


จิ๊กซอหรรษา


แผงไข่นับเลข


ต่อตัวเลขแสนสนุก





สื่อที่ดิฉันประทับใจมากที่สุดคือ   "เอ๊ะ!! มีกี่รูปนะ "




   ประทับใจสื่อชิ้นนี้มากที่สุดเพราะว่า สื่อมีสีสันสวยงาม และเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต ว่ารูปแต่ละรูปมีกี่ชิ้น แล้วนำตัวเลขมาใส่ให้ตรง ภาพนั้น ชอบค่ะ สื่อมีความแข๊งแรง ทนทาน เพราะเพื่อนตั้งใจทำอย่างดี

ข้อเสนอแนะ
- ภาพควรให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ เพื่อเด็กจะได้สังเกตง่ายยิ่งขึ้น





ความรู้ที่่ได้รับ

1.จากการได้ดูสื่อของเพื่อนๆที่ออกมานำเสนอ สามารถนำไปเป็นตัวอย่างได้ในการประดิษฐ์สื่อในครั้งต่อไป โดยเฉพาะสื่อที่สามารถประดิษฐ์ได้อย่างสวยงาม แต่ค่าใช้น้อย ทำให้ประหยัดอีกด้วย
2.ปัญหาที่พบของสื่อแต่ละชิ้น สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ให้เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย
3.ได้เห็นเพื่อนๆตั้งใจทำงานออกมาอย่างเต็มที่ สุดความสามารถ และเห็นคุณค่าของงานแต่ละชิ้น ว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็กๆ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



หมายเหตุ!! สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
อาจารย์ก็เลยให้นักศึกษาเตรียมสื่อคณิตศาสตร์ที่สั่งไว้ มานำเสนอในสัปดาห์หน้า






บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 29 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



   สำหรับวันนี้เข้าห้องเรียนปุ๊บอย่างแรกที่เห็นคือ อาจารย์เบียร์ใส่เสื้อสีน้ำเงิน ผูกเนคไทสีขาว อาจารย์ขาวมว๊ากกก  ขาวจนนู๋อิจฉา 555 และรู้สึกว่าวันนี้ไม่เห็นอาจารย์ถือกระดาษสีสันสวยงามมา อาจารย์จะให้ทำอะไรน้อ?  และแล้วอาจารย์ก็บอกว่า วันนี้จะให้นักศึกษาเขียนแผนการสอน  นึกขึ้นมาในใจ "โอ้พระเจ้า!!! นี่มันอีกแล้วเหรอนี่" ที่ดิฉันคิดแบบนี้ก็เพราะว่า วิชาที่เรียนมาก่อนหน้านี้ก็ให้เขียนแผนเหมือนกัน ซึ่งมันยากมาก ยากจริงๆ 
   ต่อมาอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เพื่อที่จะช่วยกันคิดว่าจะเขียนอย่างไร อาจารย์ก็อธิบาย ซึ่งหัวข้อที่อาจารย์ให้เขียน มีดังนี้
1.กิจกรรม
2.วัตถุประสงค์
3.กิจกรรมการเรียนรู้
- ขั้นนำ
- ขั้นสอน
- ขั้นสรุป
4.สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
5.การประเมินผล
    เมื่ออาจารย์อธิบายเสร็จ นักศึกษาบางคนก็สงสัยกัน ว่าทำไมเขียนแค่นี้ไม่เหมือนกับวิชาอื่น อาจารย์เบียร์ก็บอก และอธิบายให้ฟัง ซึ่งดิฉันก็ตั้งใจฟัง และปลื้มใจเป็นอย่างมาก ที่อาจารย์เข้าใจพวกเราเป็นอย่างดี ว่าการเขียนแผนสำหรับ ปี2 มันยากเกินไป ควรที่จะค่อยๆสอนไปทีละขั้นตอน ควรเขียนเป็นกิจกรรมก่อน
   จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษกลุ่มละ 3แผ่น  แล้วให้พวกเราระดมความคิดกันในกลุ่มว่าจะเขียนกิจกรรมใด ซึ่งต้องเขียนกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3ปี อายุ 4 ปี และอายุ 5 ปี
 บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ก็รู้สึกว่าตึงเครียดกันพอสมควร เพราะว่ากิจกรรมที่เขียนนั้ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือไม่ แต่อาจารย์เบียร์ก็คอยเดินชี้แนะ คอยให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี



ดิฉันกับเพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันเขียนกิจกรรม




   ต่อมาเมื่อ เขียนเสร็จครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์เบียร์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอกิจกรรมที่คิดว่าดีและเหมาะสมที่สุด ให้เพื่อนๆฟังหน้าห้องเรียน


กลุ่มของดิฉันเองค่ะ  นำเสนอกิจกรรม รถไฟปู๊น ปู๊น
สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 5 ปี





































การนำไปประยุกต์ใช้

1. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนกิจกรรมวันนี้ นำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้จริงๆ
2. เทคนิคที่ได้นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมาก นำไปบูรณาการกับวิชาอื่นที่เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์
3.ได้รู้ทักษะวิธีการเขียนที่ไม่เหมือนวิชาอื่น ทำให้รู้ว่าการเขียนแผนการสอนก็มีหลายวิธี แล้วแต่เราว่าจะเลือกเขียนแบบไหน ที่ไ้ดประโยชน์มากที่สุด