วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


    สำหรับวันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่่เราจะเรียนวิชานี้ พูดแล้วเศร้า T_T  
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของกลุ่มตัวเอง และที่เห็นในวันนี้คือสื่อของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มสวยงามมาก มีเทคนิคการทำและวิธีเล่นที่แตกต่างกัน  บรรยากาศในห้องเรียนก็สนุกสนาน เพราะทุกคนต่างตื่นเต้นที่จะออกนำเสนอผลงาน และคอยดูว่าสื่อของเพื่อนๆเป็นอย่างไรบ้าง  สื่อของดิฉันชื่อว่า "บันไดงูมหาสนุก" กลุ่มของดิฉันตั้งใจทำอย่างมากพื่อประโยชน์จากการเล่นในทางคณิตศาสตร์


ชื่อสื่อ บันไดงูมหาสนุก



วิธีการเล่น

1.เกมนี้ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวเดินคนละ 1 ตัว

2.ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอยลูกเต๋า คนละ 1 ครั้ง แล้วให้ผู้เล่นเดินตามจำนวนแต้มของลูกเต๋าที่ทอยได้ จากนั้นให้ผู้เล่นคนถัดไปทอยลูกเต๋าและเล่นไปเรื่อยๆ

3.ระหว่างที่เดินบนช่องทางในบางช่อง ก็จะมีคำสั่งต่างๆให้ผู้เล่นปฏิบัติตาม ได้แก่ วันนี้ดวงดีได้เดินไปข้างหน้าอีก 1 ช่อง หยุดเล่น 1 ครั้ง และ มีการนำคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในเกมนี้ คือ สมมติว่า ผู้เล่นทอยลูกเต๋าได้ ได้แต้มเลข 3 ก็จะต้อง บอกผลลัพท์ ของจำนวน 3+3 เท่ากับเท่าไหร่ และเมื่อผู้เล่นตอบได้ก็จะได้เดินไปที่ช่องจำนวนของผลลัพท์นั้น หรือ บอกผลลัพท์ของจำนวน 5- 2 ก็จะเท่ากับ3 ผู้เล่นก็จะต้องถอยกลับมา 3 ช่องนั่นเอง

4.ถ้าตัวเดินของคนใดเดินทางถึงเส้นชัยก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะ





นำสื่อไปให้เด็กๆลองเล่นดู
น้องกระปุก กับ น้องสงกรานต์








เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร 

สำหรับสื่อชิ้นนี้ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเล่น
 และในแต่ละครั้งที่เด็กๆโยนลูกเต๋าเขาก็จะตื่นเต้นและคอยลุ้นว่าจะได้จำนวนแต้มเท่าใด 


เด็กได้ทักษะอะไรบ้าง
- สำหรับสื่อชิ้นนี้ ที่เด็กจะได้ทักษะที่เห็นชัดที่สุดคือ การนับจำนวนตัวเลข ในการเดินแต่ละครั้ง

- ได้ทักษะทางด้าน การบวก ลบ เลข และบอกผลลัพท์ของจำนวนได้

- เด็กได้ทักษะทางด้านการสังเกต ว่าต้องเดินไปตามทิศทางใด

- เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ในด้านความน่าจะเป็น


ปัญหาที่พบเห็น


- ในบางครั้งเด็กสับสนในการเดินของแต่ละช่อง

- เมื่อเด็กเดินไปเจอช่องที่มี จำนวน บวกลบมากเกินไป เด็กก็ไม่สามารถตอบผลลัพท์ได้

สรุป (เหมาะสมกับเด็กหรือไม่)

  สื่อชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็กที่มีช่วงอายุ 5-6 ปี ขึ้นไป เพราะในสื่อชิ้นนี้มีจำนวนตัวเลขที่มาบวกลบนั้น ทำให้เด็กอายุ ประมาณต่ำกว่า 5 ปี ไม่สามารถบอกคำตอบของผลลัพท์นั้นได้



ผลงาน





สื่อของพื่อนๆ



รูปทรงเรขาคณิต
จำนวนนับพาเพลิน




จับคู่หรรษา
จับคู่ภาพเหมือน ผลไม้



ติ๊กต๊อก
มาช่วยกันนับเถอะค่ะ




















ร้านค้าพาเพลิน

รูปทรงเรขาคณิตน่ารู้
เรียงลำดับพาเพลิน


นาฬิกาหรรษา


เอ๊ะ!! มีกี่รูปนะ


คณิคคิดสนุก


กล่องมหัศจรรย์


จิ๊กซอหรรษา


แผงไข่นับเลข


ต่อตัวเลขแสนสนุก





สื่อที่ดิฉันประทับใจมากที่สุดคือ   "เอ๊ะ!! มีกี่รูปนะ "




   ประทับใจสื่อชิ้นนี้มากที่สุดเพราะว่า สื่อมีสีสันสวยงาม และเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต ว่ารูปแต่ละรูปมีกี่ชิ้น แล้วนำตัวเลขมาใส่ให้ตรง ภาพนั้น ชอบค่ะ สื่อมีความแข๊งแรง ทนทาน เพราะเพื่อนตั้งใจทำอย่างดี

ข้อเสนอแนะ
- ภาพควรให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ เพื่อเด็กจะได้สังเกตง่ายยิ่งขึ้น





ความรู้ที่่ได้รับ

1.จากการได้ดูสื่อของเพื่อนๆที่ออกมานำเสนอ สามารถนำไปเป็นตัวอย่างได้ในการประดิษฐ์สื่อในครั้งต่อไป โดยเฉพาะสื่อที่สามารถประดิษฐ์ได้อย่างสวยงาม แต่ค่าใช้น้อย ทำให้ประหยัดอีกด้วย
2.ปัญหาที่พบของสื่อแต่ละชิ้น สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ให้เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย
3.ได้เห็นเพื่อนๆตั้งใจทำงานออกมาอย่างเต็มที่ สุดความสามารถ และเห็นคุณค่าของงานแต่ละชิ้น ว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็กๆ





บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



หมายเหตุ!! สำหรับวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
อาจารย์ก็เลยให้นักศึกษาเตรียมสื่อคณิตศาสตร์ที่สั่งไว้ มานำเสนอในสัปดาห์หน้า






บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 29 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



   สำหรับวันนี้เข้าห้องเรียนปุ๊บอย่างแรกที่เห็นคือ อาจารย์เบียร์ใส่เสื้อสีน้ำเงิน ผูกเนคไทสีขาว อาจารย์ขาวมว๊ากกก  ขาวจนนู๋อิจฉา 555 และรู้สึกว่าวันนี้ไม่เห็นอาจารย์ถือกระดาษสีสันสวยงามมา อาจารย์จะให้ทำอะไรน้อ?  และแล้วอาจารย์ก็บอกว่า วันนี้จะให้นักศึกษาเขียนแผนการสอน  นึกขึ้นมาในใจ "โอ้พระเจ้า!!! นี่มันอีกแล้วเหรอนี่" ที่ดิฉันคิดแบบนี้ก็เพราะว่า วิชาที่เรียนมาก่อนหน้านี้ก็ให้เขียนแผนเหมือนกัน ซึ่งมันยากมาก ยากจริงๆ 
   ต่อมาอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน เพื่อที่จะช่วยกันคิดว่าจะเขียนอย่างไร อาจารย์ก็อธิบาย ซึ่งหัวข้อที่อาจารย์ให้เขียน มีดังนี้
1.กิจกรรม
2.วัตถุประสงค์
3.กิจกรรมการเรียนรู้
- ขั้นนำ
- ขั้นสอน
- ขั้นสรุป
4.สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
5.การประเมินผล
    เมื่ออาจารย์อธิบายเสร็จ นักศึกษาบางคนก็สงสัยกัน ว่าทำไมเขียนแค่นี้ไม่เหมือนกับวิชาอื่น อาจารย์เบียร์ก็บอก และอธิบายให้ฟัง ซึ่งดิฉันก็ตั้งใจฟัง และปลื้มใจเป็นอย่างมาก ที่อาจารย์เข้าใจพวกเราเป็นอย่างดี ว่าการเขียนแผนสำหรับ ปี2 มันยากเกินไป ควรที่จะค่อยๆสอนไปทีละขั้นตอน ควรเขียนเป็นกิจกรรมก่อน
   จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษกลุ่มละ 3แผ่น  แล้วให้พวกเราระดมความคิดกันในกลุ่มว่าจะเขียนกิจกรรมใด ซึ่งต้องเขียนกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 3ปี อายุ 4 ปี และอายุ 5 ปี
 บรรยากาศในห้องเรียนวันนี้ก็รู้สึกว่าตึงเครียดกันพอสมควร เพราะว่ากิจกรรมที่เขียนนั้ไม่รู้ว่าจะถูกต้องหรือไม่ แต่อาจารย์เบียร์ก็คอยเดินชี้แนะ คอยให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี



ดิฉันกับเพื่อนๆในกลุ่มช่วยกันเขียนกิจกรรม




   ต่อมาเมื่อ เขียนเสร็จครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์เบียร์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอกิจกรรมที่คิดว่าดีและเหมาะสมที่สุด ให้เพื่อนๆฟังหน้าห้องเรียน


กลุ่มของดิฉันเองค่ะ  นำเสนอกิจกรรม รถไฟปู๊น ปู๊น
สำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 5 ปี





































การนำไปประยุกต์ใช้

1. สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนกิจกรรมวันนี้ นำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้จริงๆ
2. เทคนิคที่ได้นั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมาก นำไปบูรณาการกับวิชาอื่นที่เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์
3.ได้รู้ทักษะวิธีการเขียนที่ไม่เหมือนวิชาอื่น ทำให้รู้ว่าการเขียนแผนการสอนก็มีหลายวิธี แล้วแต่เราว่าจะเลือกเขียนแบบไหน ที่ไ้ดประโยชน์มากที่สุด






วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 22 มกราคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.


    สำหรับวันนี้ เข้าเรียนสายค่ะ!! อิอิ แต่อาจารย์เบียร์ก็ใจดีที่สุดไม่ว่าอะไร^^ 
พอเข้าไปถึง เพื่อนๆก็กำลังแบ่งกลุ่มกันอยู่พอดี ก็เลยได้รู้ว่าวันนี้ต้องทำกิจกรรมใดบ้าง แต่พอเห็นว่ามีกระดาษสีสันสวยๆ ก็รู้แล้วว่าต้องมีกิจกรรมที่ตกแต่งสวยงามแน่เลย นู๋ชอบที่สุดเลยค่ะ!! เพราะรู้สึกว่าทำกิจกรรมแบบนี้ทำให้เราผ่อนคลาย ได้สร้างสรรค์ ทำให้เราใจเย็นมากยิ่งขึ้น
    กิจกรรมวันนี้คือ การทำสื่อการสอนเกี่ยวกับคณิตศาตร์ ได้แก่ รูปทรงเรขาคณิต พีชคณิต การนับจำนวน และ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจารย์เบียร์จะให้กระดาษแข็งที่เป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ให้แต่ละกลุ่มเลือกว่าจะทำสื่อการสอนในรูปแบบใดก็ได้ 
    "กลุ่มของดิฉันจึงเลือกทำ พีชคณิตค่ะ" แต่ละกลุ่มต่างก็ตกแต่งกันอย่างสวยงามอย่างมาก ช่วยกันประดิษฐ์ บรรยากาศในห้องก็สนุกสนาน รื่นเริงค่ะ
                                      
                                

ภาพนี้ เป็นของกลุ่มดิฉันเองค่ะ
เป็นสื่อการสอนทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ  พีชคณิต

 #เราไปดูผลงานของแต่ละกลุ่มกันเลยดีกว่าาาา #

















แต่ละกลุ่มออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ผลงานของพวกเราสวยมั๊ยค่ะ!!



สำหรับกิจกรรมนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่

- สามารถนำกิจกรรมนี้ ไปใช้เป็นสื่อการเรียนแก่เด็กๆ เพราะเด็กได้ประโยชน์มากมาย เช่น เกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ  สีสันสวยงาม หรือให้เด็กปฏิบัติลงมือทำสื่อแบบนี้เอง เพื่อฝึกให้เขาใช้ความคิดสร้างสรรค์
- กิจกรรมนี้ นำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นได้ เช่น ศิลปะ โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้สอนเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ การจำแนก การนับตัวเลข เป็นต้น
- ครูสามารถใช้สื่อนี้ นำไปเล่านิทานให้เด็กๆฟัง หรือให้เด็กๆจินตนาการตามบทบาทสมมติตามความคิดสร้างสรรค์ของเขาเองก็ได้ 


กิจกรรมต่อมา อาจารย์ก็นำภาพตัวอย่างเกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์มาเปิดให้ดู ว่ามีประเภทใดบ้าง


ภาพนี้คือ การจำแนกสัตว์เลี้ยง - สัตว์ป่า


ภาพนี้คือ การเปรียบเทียบความเหมือน - ความต่างระหว่าง ผู้ชาย กับ ผู้หญิง


ภาพนี้คือ การสังเกต - เปรียบเทียบความเหมือน - ความต่างระหว่าง ร่มผ้า กับ ร่มกระดาษ


ภาพนี้คือ กิจกรรมหมวกแมลง โดยการให้เด็กๆช่วยกันจำแนกประเภทของ
สัตว์มีพิษ - สัตว์ไม่มีพิษ


จากนั้น อาจารย์เบียร์ก็ให้แบ่งกลุ่มกัน 3 กลุ่ม แล้วให้ตัวแทนออกไปจับฉลากว่าจะได้กิจกรรมประเภทใด
*กลุ่มของดิฉันได้กิจกรรม การสำรวจความเหมือนความแตกต่าง ซึ่งพวกเราก็ระดมความคิดกันว่าจะสำรวจสัตว์ที่ชอบค่ะ*

ชื่อกิจกรรมคือ สำรวจสัตว์แบบใดที่หนูชอบ

กิจกรรมนี้ คือจะสำรวจสัตว์แต่ละชนิดที่เด็กชื่นชอบ โดยคุณครูจะต้อง
สร้างตาราง พร้อมทั้งวาดภาพสัตว์ต่างๆ แล้วให้เด็กแต่ละคนนำป้ายชื่อของตัวเอง
มาแปะตรงช่องของสัตว์ที่ตนชอบ และเมื่อเสร็จครบทุกคน คุณครูก็สรุป ว่าสัตว์
ชนิดใดที่เด็กชอบมากที่สุด จำนวนกี่คน คืออะไร  และสัตว์ที่เด็กชอบน้อยที่สุดจำนวนกี่คน คืออะไร

กิจกรรมของเพื่อนๆ แต่ละกลุ่ม

กิจกรรมนี้ คือการจำแนกระหว่าง ของใช้ในห้องครัว กับ ห้องนอน
ซึ่งครูก็จะสร้างตารางแบบนี้มาให้เด็ก แล้วก็นำภาพต่างๆ ที่เป็นของใช้ในห้องครัว
และของใช้ในห้องนอน นำมาถามเด็กๆ ว่าของชิ้นนี้คืออะไร และเป็นของใช่ที่อยู่ใน
หมวดใด จากนั้นเมื่อเด็กบอกเสร็จแล้ว ครูก็นำภาพไปติดให้ตรงตามหมวดกับของสิ่งนั้น


กิจกรรมนี้คือ การเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่างระหว่าง แมวกับวัว
ซึ่งครูก็จะสร้างรูปวงกลม 2 วงให้ซ้อนกัน แล้วก็ถามเด็กๆ ว่า แมวกับวัว มีความ
แตกต่าง และเหมือนกันอย่างไรบ้าง และครูก็เขียนลงในวงกลมแต่ละวงที่เตรียมไว้



สำหรับกิจกรรมนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ได้แก่

- สามารถนำกิจกรรมแบบนี้ ไปใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับเด็ก เพื่อทำให้ครูได้รู้ว่าเด็กคนใดชอบสัตว์แบบไหนบ้าง
- กิจกรรมนี้ ทำให้ครูสามารถประเมินเด็กแต่ละคนได้ โดยการสังเกต ว่าเด็กคนใดมีความรู้เกี่ยวกับสัตว์แต่ละชนิดมากน้อยแค่ไหน เขาสามารถเปรียบเทียบความต่างความเหมือนของสัตว์ ได้หรือไม่