บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557
สำหรับวันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่่เราจะเรียนวิชานี้ พูดแล้วเศร้า T_T
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของกลุ่มตัวเอง และที่เห็นในวันนี้คือสื่อของเพื่อนๆแต่ละกลุ่มสวยงามมาก มีเทคนิคการทำและวิธีเล่นที่แตกต่างกัน บรรยากาศในห้องเรียนก็สนุกสนาน เพราะทุกคนต่างตื่นเต้นที่จะออกนำเสนอผลงาน และคอยดูว่าสื่อของเพื่อนๆเป็นอย่างไรบ้าง สื่อของดิฉันชื่อว่า "บันไดงูมหาสนุก" กลุ่มของดิฉันตั้งใจทำอย่างมากพื่อประโยชน์จากการเล่นในทางคณิตศาสตร์
ชื่อสื่อ บันไดงูมหาสนุก
วิธีการเล่น
1.เกมนี้ผู้เล่นจะต้องเลือกตัวเดินคนละ 1 ตัว
2.ให้ผู้เล่นแต่ละคนทอยลูกเต๋า คนละ 1 ครั้ง แล้วให้ผู้เล่นเดินตามจำนวนแต้มของลูกเต๋าที่ทอยได้ จากนั้นให้ผู้เล่นคนถัดไปทอยลูกเต๋าและเล่นไปเรื่อยๆ
3.ระหว่างที่เดินบนช่องทางในบางช่อง ก็จะมีคำสั่งต่างๆให้ผู้เล่นปฏิบัติตาม ได้แก่ วันนี้ดวงดีได้เดินไปข้างหน้าอีก 1 ช่อง หยุดเล่น 1 ครั้ง และ มีการนำคณิตศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในเกมนี้ คือ สมมติว่า ผู้เล่นทอยลูกเต๋าได้ ได้แต้มเลข 3 ก็จะต้อง บอกผลลัพท์ ของจำนวน 3+3 เท่ากับเท่าไหร่ และเมื่อผู้เล่นตอบได้ก็จะได้เดินไปที่ช่องจำนวนของผลลัพท์นั้น หรือ บอกผลลัพท์ของจำนวน 5- 2 ก็จะเท่ากับ3 ผู้เล่นก็จะต้องถอยกลับมา 3 ช่องนั่นเอง
4.ถ้าตัวเดินของคนใดเดินทางถึงเส้นชัยก่อน ก็จะเป็นผู้ชนะ
นำสื่อไปให้เด็กๆลองเล่นดู
น้องกระปุก กับ น้องสงกรานต์
เด็กเล่นแล้วผลเป็นอย่างไร
สำหรับสื่อชิ้นนี้ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินในการเล่น และในแต่ละครั้งที่เด็กๆโยนลูกเต๋าเขาก็จะตื่นเต้นและคอยลุ้นว่าจะได้จำนวนแต้มเท่าใด
เด็กได้ทักษะอะไรบ้าง
- สำหรับสื่อชิ้นนี้ ที่เด็กจะได้ทักษะที่เห็นชัดที่สุดคือ การนับจำนวนตัวเลข ในการเดินแต่ละครั้ง
- ได้ทักษะทางด้าน การบวก ลบ เลข และบอกผลลัพท์ของจำนวนได้
- เด็กได้ทักษะทางด้านการสังเกต ว่าต้องเดินไปตามทิศทางใด
- เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ ในด้านความน่าจะเป็น
ปัญหาที่พบเห็น
- ในบางครั้งเด็กสับสนในการเดินของแต่ละช่อง
- เมื่อเด็กเดินไปเจอช่องที่มี จำนวน บวกลบมากเกินไป เด็กก็ไม่สามารถตอบผลลัพท์ได้
สรุป (เหมาะสมกับเด็กหรือไม่)
สื่อชิ้นนี้เหมาะสมกับเด็กที่มีช่วงอายุ 5-6 ปี ขึ้นไป เพราะในสื่อชิ้นนี้มีจำนวนตัวเลขที่มาบวกลบนั้น ทำให้เด็กอายุ ประมาณต่ำกว่า 5 ปี ไม่สามารถบอกคำตอบของผลลัพท์นั้นได้
ผลงาน
สื่อของพื่อนๆ
รูปทรงเรขาคณิต |
จำนวนนับพาเพลิน |
จับคู่หรรษา |
จับคู่ภาพเหมือน ผลไม้ |
ติ๊กต๊อก |
มาช่วยกันนับเถอะค่ะ |
เรียงลำดับพาเพลิน |
นาฬิกาหรรษา |
ประทับใจสื่อชิ้นนี้มากที่สุดเพราะว่า สื่อมีสีสันสวยงาม และเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมาก สามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกต ว่ารูปแต่ละรูปมีกี่ชิ้น แล้วนำตัวเลขมาใส่ให้ตรง ภาพนั้น ชอบค่ะ สื่อมีความแข๊งแรง ทนทาน เพราะเพื่อนตั้งใจทำอย่างดี
ข้อเสนอแนะ
- ภาพควรให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ เพื่อเด็กจะได้สังเกตง่ายยิ่งขึ้น
- ภาพควรให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ เพื่อเด็กจะได้สังเกตง่ายยิ่งขึ้น
ความรู้ที่่ได้รับ
1.จากการได้ดูสื่อของเพื่อนๆที่ออกมานำเสนอ สามารถนำไปเป็นตัวอย่างได้ในการประดิษฐ์สื่อในครั้งต่อไป โดยเฉพาะสื่อที่สามารถประดิษฐ์ได้อย่างสวยงาม แต่ค่าใช้น้อย ทำให้ประหยัดอีกด้วย
2.ปัญหาที่พบของสื่อแต่ละชิ้น สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ให้เหมาะสมแก่เด็กปฐมวัย
3.ได้เห็นเพื่อนๆตั้งใจทำงานออกมาอย่างเต็มที่ สุดความสามารถ และเห็นคุณค่าของงานแต่ละชิ้น ว่ามีประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็กๆ