วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่  4 ธันวาคม 2556
 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวันนี้



สำหรับการเรียนวันนี้ เพื่อนๆแต่ละกลุ่ม ออกไปนำเสนอเพิ่มเติมต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว และพร้อมทั้งนำสื่อที่ประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นเอง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ยกตัวอย่างให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น มารายงานหน้าชั้นเรียนทั้ง 5 กลุ่ม ดังนี้ค่ะ ^^



กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ


สื่อชิ้นนี้ คือ ให้นำหัวของสัตว์ มาใส่หรือหนีบ ให้
ตรงกับลำตัวของสัตว์ ตัวนั้น
สื่อชิ้นนี้ คือ ให้เรียงลำดับจากภาพที่ใหญ่ ไป
หาภาพที่เล็กกว่า หรือ เรียงจากภาพที่เล็กไป
หาภาพที่ใหญ่กว่า 





















กลุ่มที่ 2 รูปทรงเรขาคณิต



สื่อชิ้นนี้ คือ นำภาพต่างๆ เช่น ของขวัญ นาฬิกา
มาให้ทายว่า ภาพเหล่านี้ เป็นรูปทรงเรขาคณิตใด
สื่อชิ้นนี้ คือ ให้นำภาพรูปทรงเรขาคณิตส่วนต่างๆ
มาต่อกัน ให้เป็นภาพรูปทรงที่สมบูรณ์





















กลุ่มที่ 3 การวัด




สื่อชิ้นนี้ คือ ให้ดูภาพ แล้วบอกว่าภาพใดยาว
หรือ มีส่วนสูงมาก กว่ากัน
สื่อชิ้นนี้ คือ ให้ดูภาพสัตว์ 3 ตัว แล้วบอกว่าสัตว์
ตัวไหนใหญ่กว่า เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก
หรือจากมากไปหาน้อย





















กลุ่มที่ 4 พีชคณิต




สื่อชิ้นนี้ คือ ให้ทายว่า ภาพที่หายไปคือ ภาพอะไร


กลุ่มที่ 5  ความน่าจะเป็น




สื่อชิ้นนี้ คือ นำลูกปิงปอง 3 สีใส่ลงในถุง แล้วทำการหยิบสุ่ม
ขึ้นมา ความน่าจะเป็นที่จะหยิบขึ้นมา แต่ละครั้ง คือ สีใดบ้าง


  จากนั้น เมื่อนำเสนอครบหมดทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์ก็แจกกระดาษ แล้วให้นักศึกษา วาดรูปวงกลมแล้วเขียนตัวเลขที่ ตนเองชอบไว้ข้างใน 
  ต่อมา อาจารย์ก็ได้เฉลย ว่านักศึกษา เขียนเลขใด ก็ต้องวาดกลีบดอกไม้ตามจำนวนตัวเลขที่เขียนด้วย 

 ดิฉันเลือก เลข 6 ค่ะ ^^

ผลงานที่ได้





วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556
เวลา 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้


  สำหรับวันนี้ ได้ฟังและชม การนำเสนองานเรื่อง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายแต่ละกลุ่มของเพื่อนๆ และกลุ่มของตัวเองด้วย ทั้งหมด 5 กลุ่มดังนี้ค่ะ ^^


กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ







  จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวมและ การแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

  สาระการเรียนรู้ จำนวนและการดำเนินการ
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก แสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10





กลุ่มที่ 2 รูปทรง เรขาคณิต





















รูป เรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม


รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม


รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม


รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม


รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม


รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน


รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน



รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา

รูปทรงกลม



รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก



รูปทรงกระบอก





กลุ่มที่ 3 การวัด









  การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร

  หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ

การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง เรียกว่า การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ SI มี 7 หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน ( basic quantity ) ได้แก่


เมตร ( Meter : m ) เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg ) เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที ( Second : s ) เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์ ( Ampere : A ) เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน ( Kelvin : K ) เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd ) เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล ( Mole : mol ) เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร





กลุ่มที่ 4 พีชคณิต






  พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย

แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร



กลุ่มที่ 5 ความน่าจะเป็น





ตัวอย่าง

เสื้อผ้าที่มีเสื้อ 2 ตัว กางเกง 3 ตัว ถุงเท้า 3 คู่ รองเท้า 2 คู่ หมวก 2 ใบ
จะจัดชุดแต่งตัวให้ครบทั้ง 5 อย่าง ได้กี่วิธี


   ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่ใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์แล้ว จะเกิดในลักษณะใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาค่าความน่าจะเป็ จะต้องหาจากการทดลองสุ่มเท่านั้น



การนำไปประยุกต์ใช้ 

  สำหรับกิจกรรมวันนี้ สามามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ๆ นำเนื้อหาความรู้จากที่เพื่อนรายงาน และตัวอย่าง อาจจะไปประดิษฐ์ สร้างสรรค์เป็นรูปแบบของสื่อ หรือ ของเล่นต่างๆ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังทำให้ได้รับความสนุกสนานในการเล่นอีกด้วย






วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2556
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.





สำหรับความรู้ที่ได้รับในการเรียนวันนี้


1.ได้รู้เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์ ให้กับเด็กปฐมวัย ว่าควรให้เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก่อน  สอนให้รู้เกี่ยวกับคำศัพท์ หรือ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพอย่างง่ายๆ เกี่ยวกับ บวก ลบ เพื่อให้เด็กรู้จัก และหาคำตอบแบบง่ายๆ ยิ่งขึ้น
 2.ได้รู้เกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์ ได้แก่


 การสังเกต

 เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างในการเรียนรู้
เช่น  จากรูปภาพนี้ เด็กใช้การสังเกต ในการต่อจิ๊กซอร์แต่ละชิ้น ให้เหมือนภาพตัวอย่างที่วางอยู่


 การจำแนกประเภท

เกณฑ์ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และก็ความสัมพันธ์





 การเปรียบเทียบ

เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
เช่น รูปภาพนี้ คือ ช้างมีลำตัวที่ใหญ่กว่ากระต่าย  หรือ ช้างมีหางยาว แต่กระต่ายมีหางสั้น




 การจัดลำดับ

ภาพนี้ เรียงลำดับจากใหญ่ไปหาเล็ก  
ภาพนี้ เรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่







การวัด

ภาพนี้  ใช้ตุ๊กตาตัวเล็ก 3 ตัว
ต่อกัน จะได้ความสูงเท่ากับ ผู้ชาย
ภาพนี้ ใช้ ไม้บรรทัด 2 อันต่อกัน จะได้
ความสูงเท่ากับรูปผู้ชาย



















    





การนับ


เด็กจะชอบการนับ แบบท่องจำ โดยไม่เข้าใจความหมาย แต่จะเข้าใจ
ความหมายก็ต่อเมื่อ เชื่องโยงกับจุดประสงค์บางอย่าง
เช่น การนับจำนวนเพื่อนที่มาเรียน 





  รูปทรงและขนาด


เด็กๆ ส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรง และขนาดมาก่อนแล้ว
อาจจะง่าย ต่อการเล่นกิจกรรม ที่ครูจัดให้ และมีทักษะทางด้านนี้เป็นอย่างดี


อาจารย์ ก็ยกตัวอย่างให้นักศึกษาดู 1 รูป 
คือ รูปปู


จากภาพ จะเห็นได้ว่า ภาพนี้จะให้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ครบทั้ง 7สาระ
โดยเฉพาะ คุณครู เมื่อสอนเด็กๆก็ต้องนำทั้ง 7 สาระ นี้ ประยุกต์ใช้ได้อีกด้วยอาจจะนำ
ภาพสัตว์อื่นๆ เพื่อให้เด็ก เกิดจินตนาการ และ ได้ความรู้เพิ่มมากยิ่งขึ้น


จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษา วาดรูปสถานที่ ที่ผ่านระหว่างเดินทางมาเรียน 3ภาพ แล้วก็ตกแต่งให้สวยงาม



ผลงานที่ได้






วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556
  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.




  สำหรับความรู้ที่ได้รับในการเรียนวันนี้



  ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนวันนี้ อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้มี  ซึ่งมีดังนี้

- จำนวนและการดำเนินการ

- การวัด
- เรขาคณิต
- พีชคณิต
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  จากนั้นอาจารย์ก็ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ทฤษฏีพัฒนาการทางด้านต่างๆ ดังนี้

   ความหมายของคณิตศาสตร์
   
   คณิตศาสตร์ คือระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ อาจจะใช้การพูด สัญลักษณ์ ภาพ และการเขียน เพื่อเป็นการเรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ
 ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและ สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิด แก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

 ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดของ เพียเจต์

1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (แรกเกิด - 2 ปี)
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัส
- สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้

2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล  (2-7 ปี)
- ใช้ภาษาพูด แสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มบอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาวได้ 
- เล่นบทบาทสมมติ เข้าใจเกี่ยวกับนามธรรม จำนวน ตัวเลข และตัวอักษร
*ที่สำคัญเด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตาเห็น ที่สังเกตุืื และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด*


การอนุรักษ์ คือสิ่งสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาให้กับเด็กโดย   


- การนับ
- การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
- การเปรียบเทียบปริมาตร
- เรียงลำดับ
- จัดกลุ่ม



 หลัการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย   

- ลงมือทำ กับ สัมผัสของจริง
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย สำรวจสิ่งต่างๆ ผ่านวัตถุและอุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์ กับ การเล่น
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


    จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษ กับสี แล้วให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์ที่ชื่นชอบ แต่ต้องมีหลายขา ตกแต่งระายสีให้สวยงาม
  

ผลงานที่ได้





  หลังจากนั้น อาจารย์ก็ได้เฉลยว่า นักศึกษาวาดสัตว์มีจำนวนขาเท่าใด ก็ต้องตัดกระดาษเป็นรูปรองเท้า ใส่ให้สัตว์ตัวนั้นด้วย ^^ 

จากภาพนี้ก็ทำให้เด็กรู้เกี่ยวกับ         

- รูปทรงเรขา เช่น ลำตัว มีลักษณะ ทรงกลม
- การเปรียบเทียบ เช่น แมงมุมมี ลำตัวใหญ่ กว่า หัว 
- การนับ เช่น นับจำนวนขา ของแมงมุม มีทั้งหมด 8 ขา มีตา 2 ข้าง