วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2556
เวลา 08.30-12.20 น.


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้


  สำหรับวันนี้ ได้ฟังและชม การนำเสนองานเรื่อง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายแต่ละกลุ่มของเพื่อนๆ และกลุ่มของตัวเองด้วย ทั้งหมด 5 กลุ่มดังนี้ค่ะ ^^


กลุ่มที่1 จำนวนและการดำเนินการ







  จำนวนและการดำเนินการ คือ การรวมและ การแยกกลุ่ม เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง

  สาระการเรียนรู้ จำนวนและการดำเนินการ
-การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
-การอ่านตัวเลขฮินดู อารบิก และตัวเลขไทย
- การเขียนตัวเลขฮินดู อารบิก แสดงจำนวน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวนการรวมและการแยกกลุ่ม
- การรวมสิ่งต่าง ๆ สองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ที่มีจำนวนไม่เกิน 10





กลุ่มที่ 2 รูปทรง เรขาคณิต





















รูป เรขาคณิต หมายถึง รูปต่างๆ ทางเรขาคณิต เช่น รูปสามเหลี่ยม มีด้าน 3 ด้าน มีมุม 3 มุม


รูปสี่เหลี่ยม มีด้าน 4 ด้าน มีมุม 4 มุม


รูปห้าเหลี่ยม มีด้าน 5 ด้าน มีมุม 5 มุม


รูปหกเหลี่ยม มีด้าน 6 ด้าน มีมุม 6 มุม


รูปแปดเหลี่ยม มีด้าน 8 ด้าน มีมุม 8 มุม


รูปวงกลม มีเส้นโค้งเป็นวงกลม และห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะทางเท่ากัน


รูปวงรี มีเส้นเส้นโค้งเป็นวงรี โดยห่างจากจุดศูนย์กลางไม่เท่ากัน



รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา

รูปทรงกลม



รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก



รูปทรงกระบอก





กลุ่มที่ 3 การวัด









  การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ เวลา ระยะทาง น้ำหนัก ด้วยการการจับเวลา /การวัดระยะทาง / การชั่งน้ำหนักหรือการตวง เราเรียกวิธีการซึ่งใช้ข้างต้นรวม ๆ กันว่าการวัด เช่นการชั่งน้ำหนัก เรียกว่า การวัดน้ำหนัก การตวง เรียกว่า การวัดปริมาตร

  หน่วยการวัด คือ การบอกปริมาตรที่ได้จากการวัดต้องมีหน่วยการวัดจะใช้ตามระบบหน่วยสากล(International System of Unit) ซึ่งเรียกโดยย่อว่า หน่วย IS เช่น กรัม กิโลกรัม มิลลิกรัม เมตร กิโลเมตร วินาที ฯลฯ

การเลือกหน่วยในการวัดควรให้เหมาะสมกับสิ่งที่ใช้วัดเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการอ่านค่าจากการวัด อาจทำให้ค่าการวัดคลาดเคลื่อนได้ ค่าที่ได้จากการวัดจึงถือเป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
การบอกค่าประมาณของปริมาณของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้วัดจริง เรียกว่า การคาดคะเน
หน่วยรากฐานของระบบ SI มี 7 หน่วยที่ใช้วัดปริมาณมูลฐาน ( basic quantity ) ได้แก่


เมตร ( Meter : m ) เป็นหน่วยใช้วัดความยาว
กิโลเมตร ( Kilogramme : kg ) เป็นหน่วยใช้วัดมวล
วินาที ( Second : s ) เป็นหน่วยใช้วัดเวลา
แอมแปร์ ( Ampere : A ) เป็นหน่วยใช้วัดกระแสไฟฟ้า
เคลวิน ( Kelvin : K ) เป็นหน่วยใช้วัดอุณหภูมิ
แคนเดลา ( Candela : cd ) เป็นหน่วยใช้วัดความเข้มของการส่องสว่าง
โมล ( Mole : mol ) เป็นหน่วยใช้วัดปริมาณของสาร





กลุ่มที่ 4 พีชคณิต






  พีชคณิต คือ เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ การแก้ปัญหา โดยใช้สมการคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจําแนกประเภท คุณสมบัติ และ โครงสร้างของระบบจํานวนหรือระบบคณิตศาสตร์อื่น ๆ ที่เน้นในเรื่องโครงสร้างเป็นสําคัญ รวมถึงการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้นด้วย

แบบรูป หรือ บางครั้งเรียกว่า อนุกรมคือชุดของตัวเลขหรือรูปภาพที่มี ความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง ในลักษณะของจำนวน รูปร่าง สี หรือ ขนาด ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งเมื่อทราบกฎเกณฑ์หรือความสัมพันธ์ที่กำหนดในแต่ละแบบรูปเราก็จะสามารถบอกคาดเดา หรือ คาดการณ์ได้ว่าสิ่งของต่างๆรูปเรขาคณิต รูปอื่นๆหรือจำนวนที่หายไป คืออะไร



กลุ่มที่ 5 ความน่าจะเป็น





ตัวอย่าง

เสื้อผ้าที่มีเสื้อ 2 ตัว กางเกง 3 ตัว ถุงเท้า 3 คู่ รองเท้า 2 คู่ หมวก 2 ใบ
จะจัดชุดแต่งตัวให้ครบทั้ง 5 อย่าง ได้กี่วิธี


   ความน่าจะเป็น คือ ค่าที่ใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุการณ์แล้ว จะเกิดในลักษณะใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาค่าความน่าจะเป็ จะต้องหาจากการทดลองสุ่มเท่านั้น



การนำไปประยุกต์ใช้ 

  สำหรับกิจกรรมวันนี้ สามามารถนำไปเป็นตัวอย่างในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กได้ๆ นำเนื้อหาความรู้จากที่เพื่อนรายงาน และตัวอย่าง อาจจะไปประดิษฐ์ สร้างสรรค์เป็นรูปแบบของสื่อ หรือ ของเล่นต่างๆ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังทำให้ได้รับความสนุกสนานในการเล่นอีกด้วย






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น