วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556
  เวลาเรียน 08.30-12.20 น.




  สำหรับความรู้ที่ได้รับในการเรียนวันนี้



  ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนวันนี้ อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้มี  ซึ่งมีดังนี้

- จำนวนและการดำเนินการ

- การวัด
- เรขาคณิต
- พีชคณิต
- การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

  จากนั้นอาจารย์ก็ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ทฤษฏีพัฒนาการทางด้านต่างๆ ดังนี้

   ความหมายของคณิตศาสตร์
   
   คณิตศาสตร์ คือระบบการคิดของมนุษย์ เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ อาจจะใช้การพูด สัญลักษณ์ ภาพ และการเขียน เพื่อเป็นการเรียนรู้ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข การคิดคำนวณ
 ความสำคัญของคณิตศาสตร์

- เกี่ยวข้องและ สัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
- ส่งเสริมกระบวนการคิด แก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาตร์
- เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล วางแผนงาน และประเมินผล
- เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

 ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดของ เพียเจต์

1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (แรกเกิด - 2 ปี)
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัส
- สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้

2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล  (2-7 ปี)
- ใช้ภาษาพูด แสดงความรู้ ความคิด
- เริ่มบอกขนาด น้ำหนัก รูปทรงและความยาวได้ 
- เล่นบทบาทสมมติ เข้าใจเกี่ยวกับนามธรรม จำนวน ตัวเลข และตัวอักษร
*ที่สำคัญเด็กในวัยนี้จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตาเห็น ที่สังเกตุืื และรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด*


การอนุรักษ์ คือสิ่งสิ่งที่จำเป็นต้องพัฒนาให้กับเด็กโดย   


- การนับ
- การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
- การเปรียบเทียบปริมาตร
- เรียงลำดับ
- จัดกลุ่ม



 หลัการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย   

- ลงมือทำ กับ สัมผัสของจริง
- เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย สำรวจสิ่งต่างๆ ผ่านวัตถุและอุปกรณ์
- ผสมผสานคณิตศาสตร์ กับ การเล่น
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน


    จากนั้นอาจารย์ก็แจกกระดาษ กับสี แล้วให้นักศึกษาวาดรูปสัตว์ที่ชื่นชอบ แต่ต้องมีหลายขา ตกแต่งระายสีให้สวยงาม
  

ผลงานที่ได้





  หลังจากนั้น อาจารย์ก็ได้เฉลยว่า นักศึกษาวาดสัตว์มีจำนวนขาเท่าใด ก็ต้องตัดกระดาษเป็นรูปรองเท้า ใส่ให้สัตว์ตัวนั้นด้วย ^^ 

จากภาพนี้ก็ทำให้เด็กรู้เกี่ยวกับ         

- รูปทรงเรขา เช่น ลำตัว มีลักษณะ ทรงกลม
- การเปรียบเทียบ เช่น แมงมุมมี ลำตัวใหญ่ กว่า หัว 
- การนับ เช่น นับจำนวนขา ของแมงมุม มีทั้งหมด 8 ขา มีตา 2 ข้าง





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น